อำนาจและหน้าที่

อำนาจและหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา

ภารกิจ อำนาจหน้าที่ ของเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แบ่งออกได้ 7 ด้าน คือ


1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
– การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ (มาตรา 50 (2) ท. , มาตรา 51 (8) ท. ,มาตรา 53 (3) ท. , มาตรา 16 (2) พ.)
– การจัดให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่าง (มาตรา 51 (7) ท. , มาตรา 53 (7) ท.)
– การจัดให้มีสาธารณูปการ ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ (ให้มีน้ำสะอาดหรือน้ำประปา , ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ) (มาตรา 54 (6) ท. , มาตรา 16 (5) พ.)
– การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ (มาตรา 51 (1) ท. , มาตรา 53 (2) ท. , มาตรา 53 (6) ท. , มาตรา 16 (4) พ.)
– การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ (มาตรา 51 (3) ท. , มาตรา 54 (1) ท. , มาตรา 16 (3) พ.)
– การผังเมือง (มาตรา 16 (25) พ.)
– การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร (มาตรา 16 (28) พ.)
– การควบคุมอาคาร (มาตรา 16 (28) พ.)


2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
– การจัดการศึกษา (มาตรา 50 (6) ท. , มาตรา 54 (8) ท. , มาตรา 16 (9) พ.)
– การส่งเสริมการกีฬา (มาตรา 54 (9) ท. , มาตรา 16 (4) พ.)
– การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การรักษาพยาบาล การป้องกันและระงับโรคติดต่อ , สถานที่ทำการพิทักษรักษาคนเจ็บไข้ (มาตรา 50 (4) ท. , มาตรา 51 (6) ท. , มาตรา 53 (4) ท. , มาตรา 54 (5) ท. , มาตรา 54 (7) ท. , มาตรา 16 (19) พ.)
– การส่งเสริมการพัฒนาและสงเคราะห์เด็ก สตรี คนชรา เยาวชน และผู้พิการ (มาตรา 50 (7) ท. , มาตรา 54 (4) , มาตรา 16 (10) พ.)
– การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (มาตรา 54 (10) ท. , มาตรา 16 (13) พ.)
– การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( มาตรา 16 (7) พ.)
– การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย (มาตรา 50 (3) ท. , มาตรา 16 (18) พ.)
– การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน (มาตรา 51 (4) ท. , มาตรา 24 (2) ท. , มาตรา 16 (20) พ.)
– การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (มาตรา 16 (21) พ.) (10) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ (มาตรา 51 (2) ท. , มาตรา 53 (3) ท. , มาตรา 16 (22) พ.)


3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
– การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (มาตรา 50 (1) ท. , มาตรา 16 (30) พ.)
– การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา 54 (11) ท. , มาตรา 16 (12) พ.)
– การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ (มาตรา 16 (23) พ.)
– การดูแลรักษาที่สาธารณะ (มาตรา 16 (27) พ.)
– การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา 54 (50) ท. , มาตรา 16 (29) พ.)


4. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
– กิจการเทศพาณิชย์ (มาตรา 51 (9) ท. , มาตรา 53 (8) ท. , มาตรา 54 (12) ท.)
– การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ (มาตรา 51 (5) ท. , มาตรา 54 (3) ท. , มาตรา 16 (6) พ.)
– การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 16 (7) พ.)
– การส่งเสริมการท่องเที่ยว (มาตรา 16 (8) พ.)


5. ด้านการบริการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
– การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา 16 (24) พ.)


6. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
– บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา 50 (8) ท. , มาตรา 16 (11) พ.)

7. ด้านการบริหารจัดการและสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
– การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (มาตรา 16 (1) พ.)
– การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และประสิทธิภาพของประชาชน (มาตรา 16 (15) พ.)
– การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (มตรา 16 (16) พ.)
– สามารถแบ่งแยกประเภทอำนาจหน้าที่ของเทศบาลไว้เป็น 2 ส่วน คือ หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ และอำนาจหน้าที่ ที่เลือกปฏิบัติ
ภารกิจหลัก มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบล มีหน้าที่ต้องทำให้เขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
– รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
– รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
– ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
– ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
– ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
– ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
– บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
– หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
มาตรา 53 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐
– ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
– ให้มีโรงฆ่าสัตว์
– ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
– ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
– ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
– ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
– ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น ภารกิจรอง
ภารกิจรอง มาตรา 54 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง อาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
– ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
– ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
– บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
– ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
– ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
– ให้มีการสาธารณูปการ
– จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
– จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
– ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
– ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
– ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
– เทศพาณิชย์ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา